เมนู

พระสุตตันตปิฏก ขุททกนิกาย มหานิทเทส [อัฎฐกวรรค] 1. กามสุตตนิทเทส
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนของที่ยืมมา เพราะเป็นของ
ครอบครองชั่วคราวตามกำหนด จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนผลไม้คาต้น เพราะเป็นเหตุ
ให้หักและให้ล้ม จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนเขียงหั่นเนื้อ เพราะเป็นเครื่อง
รองรับการตัดฟัน จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหอกหลาว เพราะเป็นเครื่อง
ทิ่มแทง จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนหัวงู เพราะเป็นสิ่งมีภัย
เฉพาะหน้า จึงละกามได้โดยการข่มไว้
เมื่อพิจารณาเห็นว่า กามทั้งหลายเปรียบเหมือนกองไฟ เพราะเผาผลาญ จึง
ละกามได้โดยการข่มไว้
ว่าด้วยบุคคลที่ละกามได้โดยการข่มไว้ 10 จำพวก
1. บุคคลกำลังเจริญพุทธานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
2. บุคคลกำลังเจริญธัมมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
3. บุคคลกำลังเจริญสังฆานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
4. บุคคลกำลังเจริญสีลานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
5. บุคคลกำลังเจริญจาคานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
6. บุคคลกำลังเจริญเทวตานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
7. บุคคลกำลังเจริญอานาปานัสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
8. บุคคลกำลังเจริญมรณานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
9. บุคคลกำลังเจริญกายคตาสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้
10. บุคคลกำลังเจริญอุปสมานุสสติ ย่อมละกามได้โดยการข่มไว้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 29 หน้า :8 }